วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1 (ชุดที่ 1 )

กิจกรรมที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ ๑) เทคโนโลยีทางการทหาร
๒) เทคโนโลยีทางการแพทย์
๓) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
๔) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม
๕) เทคโนโลยีทางการศึกษา

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาม่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ แต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่นๆทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ม่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญโดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างประสิทธิภาพ

4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ การศึกษามีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของบุคคล แต่ละระดับดังนี้.
1) บุคคลธรรมดาสามัญ ตามความหมายพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม ( ราชบัญฑิตยสภา,2529 : 108)
2) บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ความหมายว่าการศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ (Good, 1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
2.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อน
2.2 ทัศนะเสรีนิยม การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว

5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
(1) ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นกรใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เป็นการเพิ่มสัมผัสจากการใช้หูฟังครูพูดอย่างเดียวให้มีสัมผัสหลายทาง โดยการใช้ภาพใช้เสียงจริงหรือใช้วัสดุจำลอง การใช้ระดับนี้ต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
(2) ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป
(3) ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก.

6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยี
1) การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวคิดใหม่มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2)ในปัจจุบันมีคนนิยมใช้มาก มีการปรับเปลี่ยนบทไปเรื่อยๆจนนิยมใช้จำนวนมากนวัตกรรม
3) เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
4) ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยวิจัย น่าเชื่อถือมากขึ้น
5) มีวิธีการอย่างมีระบบ การคิดและการใช้อย่างมีระบบ
6) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน ทุกคนยังใช้ไม่ทั่วถึงสรุปนวัตกรรม การนำวัสดุใหม่ๆโปรแกรมใหม่ๆ การนำเอามาพัฒนาให้ดีกว่าเดิม เกิดใหม่เป็นนวัตกรรม ถ้าใช้แล้วหายไป เมื่อมีคนนิยมใช้และใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใช้แล้วถูกใจ คนใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆใช้แล้วถูกใจคนใช้มากขึ้นก็กลายเป็นเทคโนโลยี

7. จงบอกขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้องตอบ ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมมีดังนี้
ตอบ 1) ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
2) ขั้นการพัฒนาการหรือขั้นการทดลอง
3) ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

8. จงบอกบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเขียนการสอนดังนี้
1) ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้สมบรูณ์และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2) สามารถสนองเร่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล
3) ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณภาพและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5) ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนกลุ่ม
6) ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้นมากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบการจัดการศึกษา

9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษามีดังนี้
1) การสอนแบบโปรแกรม
2) ศูนย์การเรียน
3) ชุดการเรียนการสอน
4) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด
5) การสอนเป็นคณะ
6) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น cat
7) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
8) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9) การเรียนการสอนทางไกล
10) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
11) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
12) เรียนปนเล่น
13) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา

10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา มีดังนี้
1) การเพิ่มประชากรการเพิ่มประชากรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน ทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง
2) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้สังคมได้อย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป
3) ความก้าวหน้าทางวิทยากรใหม่ๆการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆหลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

11. จงอธิบายแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยมีดังนี้
1) การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง
2) การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ทางการเรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบ
3) การสอนแบบพูดอย่างเดียว ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเอง
4) การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษาแบบเดิมมักจะสอนแต่ไม่มีการฝึกการเป็นพลเมืองดี
5) ส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตนเอง ฝักใฝ่และหลงใหลมาอยู่ในกรุงหรือนิยมของต่างประเทศมากกว่าในประเทศ

12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ แนวทางแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มีดังนี้
1) กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2) สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3) รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมวดหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ
4) รู้จักแสวงหาความรู้เอง
5) มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม

ไม่มีความคิดเห็น: