วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

ในหลวงกับเทคโนโลยี-4

การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"

การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ

1. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง Chaipattana Aerator, Model RX-1

2. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3

3. เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4

4. เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท Chaipattana Aerator, Model RX-5

5. เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6

6. เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7

7. เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8

8. เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9

9. เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
1. โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
2. ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
3. ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายเข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว
4. ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น

ในหลวงกับเทคโนโลยี-3


3. พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม
ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการสนองพระราชดำริ ในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหิน ซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคม เข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าว เป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร

ในหลวงกับเทคโนโลยี-2

2. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์
พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00 หยุดทุกวันจันทร์


ที่มา : http://www.prdnorth.in.th

ในหลวงกับเทคโนโลยี-1

1. พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน
นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

ที่มา : http://www.prdnorth.in.th/

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 (ชุดที่2)

จงเติมคำลงในช่องวางต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึงหรือร่วมกัน หรือความหมายอีกนัยหนึ่งคือ การสื่อสาร

2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า " ผู้ส่ง" ไปยังอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า " ผู้รับ"

3. Sender _ Message _ Channel _ Receiver

4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด

5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมีตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น

6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกันตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง เป็นต้น

7. Content หมายถึง เนื้อหา หรือข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด หรือความต้องการของผู้ส่งตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร

8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ส่งมีวิธีการและเทคนิคเฉพาะตัว ซึ่งบางทีเราเรียกว่า Style ในการสื่อสาร ตัวอย่าง เช่น การส่งสารโดยใช้เสียงเพลงเป็นตัวนำ หรือส่งโดยการอัดเทปข้อความในสาร

9. Code หมายถึง รหัสสาร ซึ่งเป็นกลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาดนตรี ภาพวาด กิริยา ท่าทาง

10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด เป็นต้น

11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ความไม่ปกติทางร่างกาย

12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส หรือการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณต่าง ๆ ได้

13. Decode หมายถึง การถอดรหัส หรือการแปลความจากสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้

14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
การสื่อความหมายในการเรียนการสอน เป็นกระบวนการสื่อความหมายที่นำมาใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร ทำหน้าที่ ส่งสาร ( เนื้อหาและหลักสูตร) โดยผ่านช่องทางหรือสื่อ ไปสู่ผู้รับสาร ( ผู้เรียน) เพื่อให้การเรียนการสอน มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ครูในฐานะเป็นผู้ส่งและกำหนดจุดมุ่งหมายและระบบการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม ดังนี้
1.1 ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนเป็นอย่างดี
1.2 มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น การพูด การเขียน ลีลา ท่าทาง เป็นต้น
1.3 ต้องจัดบรรยากาศในการเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้1.4 ต้องวางแผนการจัดระบบการถ่ายทอดความรู้ให้เหมาะสมต่อเนื้อหา และผู้เรียน
2. เนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ของครู หรือสิ่งที่ครูต้องการถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน ควรมีลักษณะดังนี้
2.1 เหมาะสมกับเพศ และวัยของผู้เรียน
2.2 สอดคล้องกับเทคนิควิธีสอน หรือสื่อต่าง ๆ
2.3 เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
3. สื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหะที่จะนำเนื้อหาจากครูผู้สอนเข้าไปสู่ภายในของผู้เรียน ลักษณะของสื่อ ควรมีลักษณะดังนี้
3.1 มีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา
3.2 สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัสของสื่อแต่ละประเภท
3.3 เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดี
3.4 เป็นสื่อที่สามารถขจัด หรือป้องกันการรบกวนที่จะเกิดขึ้นระหว่างส่งสาร
4. ผู้รับสาร คือ นักเรียนหรือผู้เรียน ควรมีลักษณะ ดังนี้
4.1 มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5
4.2 มีความพร้อมทางด้านจิตใจ อารมณ์มั่นคงปกติ
4.3 มีทักษะในการรับสื่อและการสื่อความหมาย
4.4 มีเจตคติต่อครูผู้สอนและเนื้อหาวิชา

15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อสารในการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนการสอนมักประสบความล้มเหลว เกิดจากอุปสรรคหลายประการ ดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหารวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาเข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการเรียนหรือใช้สื่อการเรียนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียนดังนั้น ในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1 (ชุดที่ 1 )

กิจกรรมที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ ๑) เทคโนโลยีทางการทหาร
๒) เทคโนโลยีทางการแพทย์
๓) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
๔) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม
๕) เทคโนโลยีทางการศึกษา

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาม่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ แต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่นๆทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ม่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญโดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างประสิทธิภาพ

4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ การศึกษามีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของบุคคล แต่ละระดับดังนี้.
1) บุคคลธรรมดาสามัญ ตามความหมายพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม ( ราชบัญฑิตยสภา,2529 : 108)
2) บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ความหมายว่าการศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ (Good, 1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
2.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อน
2.2 ทัศนะเสรีนิยม การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว

5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
(1) ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นกรใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เป็นการเพิ่มสัมผัสจากการใช้หูฟังครูพูดอย่างเดียวให้มีสัมผัสหลายทาง โดยการใช้ภาพใช้เสียงจริงหรือใช้วัสดุจำลอง การใช้ระดับนี้ต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
(2) ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป
(3) ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก.

6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยี
1) การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวคิดใหม่มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2)ในปัจจุบันมีคนนิยมใช้มาก มีการปรับเปลี่ยนบทไปเรื่อยๆจนนิยมใช้จำนวนมากนวัตกรรม
3) เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
4) ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยวิจัย น่าเชื่อถือมากขึ้น
5) มีวิธีการอย่างมีระบบ การคิดและการใช้อย่างมีระบบ
6) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน ทุกคนยังใช้ไม่ทั่วถึงสรุปนวัตกรรม การนำวัสดุใหม่ๆโปรแกรมใหม่ๆ การนำเอามาพัฒนาให้ดีกว่าเดิม เกิดใหม่เป็นนวัตกรรม ถ้าใช้แล้วหายไป เมื่อมีคนนิยมใช้และใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใช้แล้วถูกใจ คนใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆใช้แล้วถูกใจคนใช้มากขึ้นก็กลายเป็นเทคโนโลยี

7. จงบอกขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้องตอบ ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมมีดังนี้
ตอบ 1) ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
2) ขั้นการพัฒนาการหรือขั้นการทดลอง
3) ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

8. จงบอกบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเขียนการสอนดังนี้
1) ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้สมบรูณ์และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2) สามารถสนองเร่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล
3) ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณภาพและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5) ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนกลุ่ม
6) ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้นมากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบการจัดการศึกษา

9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษามีดังนี้
1) การสอนแบบโปรแกรม
2) ศูนย์การเรียน
3) ชุดการเรียนการสอน
4) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด
5) การสอนเป็นคณะ
6) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น cat
7) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
8) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9) การเรียนการสอนทางไกล
10) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
11) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
12) เรียนปนเล่น
13) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา

10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา มีดังนี้
1) การเพิ่มประชากรการเพิ่มประชากรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน ทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง
2) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้สังคมได้อย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป
3) ความก้าวหน้าทางวิทยากรใหม่ๆการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆหลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

11. จงอธิบายแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยมีดังนี้
1) การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง
2) การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ทางการเรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบ
3) การสอนแบบพูดอย่างเดียว ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเอง
4) การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษาแบบเดิมมักจะสอนแต่ไม่มีการฝึกการเป็นพลเมืองดี
5) ส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตนเอง ฝักใฝ่และหลงใหลมาอยู่ในกรุงหรือนิยมของต่างประเทศมากกว่าในประเทศ

12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ แนวทางแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มีดังนี้
1) กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2) สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3) รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมวดหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ
4) รู้จักแสวงหาความรู้เอง
5) มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม