วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญา-1.เทียนหอมช้างไทย


เทียนหอมช้างไทย


ประวัติความเป็นมาช่วงปี 2543 ผู้ผลิตได้ผลิตเทียนรูปตุ๊กตาแจกเพื่อนๆ เนื่องในโอกาสปีใหม่ โดยได้แนวคิดมาจากเทียนที่เหลือจากไหว้พระ มาทดลองทำเป็นรูปทรง เป็นตัวสัตว์ เช่น หมู วัว และผสมสีเป็นสีแดง ชมพู เขียว ทำให้เป็นที่แปลกใหม่ สวยงาม เพื่อนๆ จะสั่งซื้อและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงพัฒนาเป็นเทียนรูปทรงแปลกไปเรื่อยๆ แล้วนำไปจำหน่ายในตลาดนัดสวนจตุจักร และประเภทเทียนตกแต่งบ้าน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสนใจสั่งซื้อไปขายต่างประเทศ และเพิ่มจำนวนการสั่งซื้อขึ้นเรื่อยๆ จึงชักชวนพี่ๆ น้องๆ และเยาวชนในชุมชนมาใช้แรงงานการผลิต และได้มีการสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกเดือน
กระบวนการขั้นตอนการผลิต- นำพาราฟินมาต้มแล้วผสมสูตรเคมี (สูตรเฉพาะของเราเอง) ผสมสีตามต้องการและน้ำหอมสำหรับทำเทียนไว้
- เตรียมแม่พิมพ์ตามแบบลายที่ต้องการเพื่อเทเทียนลงพิมพ์ - แห้งแล้วแกะออกมาตกแต่งผิวเทียน
- บรรจุ
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์เป็นเทียนคุณภาพสูง ลวดลายไม่เหมือนใคร สีสันสะดุดตาน่าใช้ และเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติทั่วไป
ปริมาณการผลิต-ขนาดเล็ก ผลิตได้ 60,000 ชิ้น/เดือน
- ขนาดกลาง ผลิตได้ 20,000 ชิ้น/เดือน
- ขนาดใหญ่ ผลิตได้ 10,000 ชิ้น/เดือน
ราคา -ขนาดเล็ก ผลิตได้ 60,000 ชิ้น/เดือน ราคา 15-30 บาท
- ขนาดกลาง ผลิตได้ 20,000 ชิ้น/เดือน ราคา 30
-60 บาท - ขนาดใหญ่ ผลิตได้ 10,000 ชิ้น/เดือน ราคา 110-250 บาท
สถานที่จำหน่าย- ภายในประเทศ ตลาดนัดสวนจตุจักร
- ภายนอกประเทศ ญี่ปุ่น,อังกฤษ,ปารีส,ฝรั่งเศส,อิตาลี,สเปน,เยอรมัน,เนเธอร์แสนด์, ฮ่องกง,เกาหลี,จีน,มาเลเซีย,สิงค์โปร์,อินโดนีเซีย,สหรัฐอเมริกา,แอฟริกาใต้
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณรัชนิกร ฉิมมะ เลขที่ 31 หมู่ที่ 5 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โทรศัพท์. 01-8411895 โทรสาร. 032-262010
- ตลาดนัดสวนจตุจักร โครงการ 13 ซอย 3
- E-mail:Ratchanikorn@hotmail.com

ภูมิปัญญา-2.ผ้ากาบบัวอุบลราชธานี




ผ้ากาบบัว" ผ้าเอกลักษณ์ของเมืองอุบล


โครงการสืบสานผ้าไทยสายใยเมืองอุบลราชธานี ได้เกิดขึ้น เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองอุบลราชธานี โดย นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) ได้มอบหมายให้คณะทำงานพิจารณาฟื้นฟูลายผ้าพื้นเมืองในอดีตที่สวยงาม จนได้ลายผ้ามีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ชื่อว่า ผ้ากาบบัว พร้อมกับมีประกาศจังหวัดให้ผ้ากาบบัวเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543
ผ้ากาบบัวอาจทอด้วยฝ้าย หรือไหม ประกอบด้วยเส้นยืนย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้วตามลักษณะ "ซิ่นทิว" ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังทอพุ่งด้วยไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่ และขิด ผ้ากาบบัว (จก) คือผ้าพื้นทิว หรือผ้ากาบบัวเพิ่มการจกลาย เป็นลวดลายกระจุกดาว (บางครั้งเรียก เกาะลายดาว) อาจจกเป็นบางส่วน หรือกระจายทั่วทั้งผืนผ้า เพื่อสืบทอด "ซิ่นหัวจกดาว" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าซิ่นเมืองอุบล ผ้ากาบบัว (จก) นี้เหมาะที่จะใช้งานในพิธีหรือโอกาสสำคัญ










ผ้ากาบบัว (คำ) คือ ผ้าทอยก (บางครั้งเรียก ขิด) ด้วยไหมคำ (ดิ้นทอง) อาจสอดแทรกด้วยไหมเงิน หรือไหมสีต่างๆ อันเป็นผ้าที่ต้องใช้ความประณีตในการทออย่างสูง

ภูมิปัญญา-3.กระติบข้าวและกล่องข้าว


ก่องข้าว และ กระติบข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสองอยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุงมีฝาปิดและมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยกสี่แฉก ดังภาพด้านซ้ายมือ มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ ส่วนกระติบข้าวนั้นพบเห็นได้ทั่วไปเป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าวเพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว (ก่องข้าวใช้ตอกที่ทำจากติวไม้ไผ่ (ส่วนผิว) ซึ่งมีความแข็งจึงสานยากกว่า) ทำให้กระติบข้าวมีความแข็งแรงน้อยกว่าก่องข้าว

ก่องข้าวและกระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง (ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้แทน ก่องข้าว หรือ กระติบข้าว ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวส้มตำในเมืองใหญ่) ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางรองอีกที ก่อนบรรจุข้าวเหนียว ถึงกระนั้นเม็ดข้าวที่อยู่ชิดรอบขอบกระติกก็ยังคงแฉะอยู่ดี ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะจึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่


ในกรณีของกระติบข้าวจะเห็นว่าฝาปิดและตัวกระติบจะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาล ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ (ปัจจุบันนี้ใช้เชือกไนล่อน เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า) ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงาน และยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้ เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร (ผู้เขียนเคยไปถ่ายทำสารคดีเรื่องเครื่องจักสานที่นี่ ตอนนี้ยังหาภาพที่ถ่ายไว้ไม่พบ เห็นทีจะต้องย้อนไปอีกครั้งแล้วครับ)

ในหลวงกับเทคโนโลยี-5



๑“ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2544อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้