วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญา-2.ผ้ากาบบัวอุบลราชธานี




ผ้ากาบบัว" ผ้าเอกลักษณ์ของเมืองอุบล


โครงการสืบสานผ้าไทยสายใยเมืองอุบลราชธานี ได้เกิดขึ้น เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองอุบลราชธานี โดย นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) ได้มอบหมายให้คณะทำงานพิจารณาฟื้นฟูลายผ้าพื้นเมืองในอดีตที่สวยงาม จนได้ลายผ้ามีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ชื่อว่า ผ้ากาบบัว พร้อมกับมีประกาศจังหวัดให้ผ้ากาบบัวเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543
ผ้ากาบบัวอาจทอด้วยฝ้าย หรือไหม ประกอบด้วยเส้นยืนย้อมอย่างน้อยสองสีเป็นริ้วตามลักษณะ "ซิ่นทิว" ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังทอพุ่งด้วยไหมสีมับไม (ไหมปั่นเกลียวหางกระรอก) มัดหมี่ และขิด ผ้ากาบบัว (จก) คือผ้าพื้นทิว หรือผ้ากาบบัวเพิ่มการจกลาย เป็นลวดลายกระจุกดาว (บางครั้งเรียก เกาะลายดาว) อาจจกเป็นบางส่วน หรือกระจายทั่วทั้งผืนผ้า เพื่อสืบทอด "ซิ่นหัวจกดาว" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าซิ่นเมืองอุบล ผ้ากาบบัว (จก) นี้เหมาะที่จะใช้งานในพิธีหรือโอกาสสำคัญ










ผ้ากาบบัว (คำ) คือ ผ้าทอยก (บางครั้งเรียก ขิด) ด้วยไหมคำ (ดิ้นทอง) อาจสอดแทรกด้วยไหมเงิน หรือไหมสีต่างๆ อันเป็นผ้าที่ต้องใช้ความประณีตในการทออย่างสูง

ไม่มีความคิดเห็น: